หลักการพัฒนาการของมนุษย์

        1. พัฒนาการของคนเราดำเนินไปอย่างมีแบบแผนที่ละขั้น เช่น   พัฒนาการของทารก จะเริ่มคว่ำก่อนคืบ คืบก่อนคลาน คลานก่อนนั่งหรือยืน ได้เอง ฯลฯ เป็นต้น
        2. พัฒนาการของคนเราดำเนินไปพร้อมกันทั้ง 4 ด้าน และทุกด้านสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา เช่นเมื่อเด็กโตขึ้น พัฒนาการทางด้านร่างกายอันได้แก่ ส่วนสูงและน้ำหนักเพิ่มขึ้น จะมีพัฒนาการทางอารมณ์คือสามารถควบคุมพฤติกรรม ขณะเกิดอารมณ์ได้ดีขึ้น มีพัฒนาการทางสังคมคือปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้มากขึ้น และมีพัฒนาการทางสติปัญญาคือ มีความคิดอ่านเป็นของตัวเองมากขึ้น ฯลฯ เป็นต้น
        3. พัฒนาการเริ่มจากส่วนหยาบไปหาส่วนย่อย เช่นเด็กจะสามารจับของใหญ่ ๆ ด้วยนิ้ว ทุกนิ้วได้ก่อนจับของเล็ก ๆ เพียง 2 - 3 นิ้ว หรือเด็กจะมองเห็นตัวหนังสือหรือรูปภาพโต ๆ ได้ก่อนและดีกว่าตัวหนังสือหรือรูปภาพเล็ก ๆ ฯลฯ เป็นต้น
         4. เด็กปกติจะผ่านพัฒนาการตามลำดับขั้นแต่ด้วยอัตราที่ไม่เท่ากัน เช่นเด็กทุกคนจะต้องคว่ำก่อนคืบ หรือพูดอ้อแอ้ก่อนพูดเป็นคำ แต่เด็กแต่ละคนอาจทำแต่ละอย่างได้ในอายุที่ต่างกันบางคนอาจคว่ำได้เมื่ออายุ 4 เดือน บางคนอาจคว่ำเมื่ออายุ 5 เดือน บางคนอาจเริ่มอ้อแอ้เมื่ออายุ 8 เดือน บางคนอาจเริ่มเมื่ออายุได้ 6 หรือ 10   เดือน ฯลฯ เป็นต้น
         5.พัฒนาการทั้งหลายทำนายได้เพราะพัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีแบบแผน เช่นเมื่อเด็กอ้อแอ้เราก็บอกได้ว่าหลังจากนี้อีก 1 หรือ 2 หรือ 3 เดือน เขาจะพูดเป็นคำได้ หรือเมื่อเด็กเริ่มตั้งไข่เราก็จะบอกได้ว่า ขั้นต่อไปของเขาคือจะยืนได้เองนาน ๆ และจะเดินเองได้ในที่สุด    

          ลักษณะของพัฒนาการ(Characteristics of Development) มนุษย์ที่สามารถสังเกตหรือผู้สนใจควรทราบ ได้แก่
               1. พัฒนาการเป็นไปตามแบบฉบับของมันเอง  ไม่ว่ามนุษย์ หรือสัตว์โดยเฉพาะมนุษย์ หรือสัตว์ที่จัดอยู่ในพวกเดียวกัน จะมีแบบแผนของการพัฒนาการคล้าย ๆ กัน
               2. พัฒนาการไม่ว่าด้านใดก็ตามจะเริ่มจากส่วนใหญ่ไปสู่ส่วนน้อย  เด็กทารกจะเคลื่อนไหวทั้งตัวได้ก่อนส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เด็กสามารถใช้แขนเคลื่อนไหวไปมาได้ก่อนเคลื่อนไหวนิ้วมือ ๆ
               3. อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกัน  เป็นที่ทราบกันแล้วว่า ธรรมชาติได้สร้างเด็กแต่ละคนให้มีลักษณะต่าง ๆ กัน เด็กบางคนเจริญเติบโตเร็ว เด็กบางคนก็เจริญเติบโตช้า เด็กที่มีการเจริญเติบโตเร็วมาแต่เล็ก ๆ จะยังคงเจริญเติบโตเร็วอยู่ตลอดไปในทุก ๆ ด้าน ส่วนเด็กที่มีการเจริญเติบโตช้าก็จะยังคงช้าอยู่ตลอดไปเช่นเดียวกัน 
               4. อัตราพัฒนาการส่วนต่างๆ ของร่างกายแตกต่างกัน  ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่ได้เจริญในอัตราเดียวกันหมด ส่วนต่าง ๆ ที่ทางด้านสมองและร่างกายจะมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว บางส่วนจะเจริญช้า ตัวอย่างเช่น ขนาดสมองจะเจริญเติบโตถึงขีดสุด และระบบการย่อยอาหารจะเจริญอย่างรวดเร็ว ในระหว่างวัยรุ่น 
               5. พัฒนาการของคุณลักษณะต่างๆ มักจะสัมพันธ์กัน พัฒนาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านไหนมักจะมีความสัมพันธ์กัน เช่น เด็กคนไหนที่มีสติปัญญาเฉลี่ยฉลาดก็มักมีร่างกายสมบูรณ์ตลอดจนสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคม
               6. พัฒนาการของเด็กอาจทำนายได้  เนื่องจากอัตราพัฒนาการของเด็กคงที่พอสมควรเราจึงสามารถทำนายพฤติกรรมของเด็กได้ว่า จะมีพฤติกรรมชนิดใดเกิดขึ้นเมื่อใด
               7. พัฒนาการบางชนิดที่ผู้ใหญ่ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นปัญหา  แต่ที่จริงแล้วจัดเป็นพฤติกรรมที่ปกติของเด็กซึ่งเป็นไปตามลักษณะของพัฒนาการนั่นเอง

1 ความคิดเห็น: